คริสต์มาส ปีใหม่ และตรุษจีน นำเอาบรรยากาศของความรื่นเริงมาถึงในเดือนธันวาคมปีนี้และมกราคมปีหน้า อุษาคเนย์เฉลิมฉลองเทศกาลที่มาจากหลายวัฒนธรรมไปพร้อมกัน แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลายที่มีมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ บ่งบอกบุคลิกยืดหยุ่นเปิดกว้างของผู้คน อันเป็นความแข็งแกร่งและสวยงามของภูมิภาค
Millennial และ Generation Z คนรุ่นใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทเชิงเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลก เกิดและเติบโตมาในยุคอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีทัชสกรีน และอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย เป็นคนรุ่นที่เชื่อมโยงติดต่อกับโลกทั้งโลกผ่านปลายนิ้ว แต่เหตุใดจึงยังไม่สามารถแสดงพลังขับเคลื่อนทางการเมืองไปในทิศทางที่ก้าวหน้าได้เหมือนคนรุ่นก่อน เวลาเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้
เมืองไทยมีคนเดือนตุลาฯ อินโดนีเซียก็มีคนรุ่น 1998 หรือนักศึกษาอายุ 20 - 30 ปี และนักกิจกรรมการเมืองที่ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มอำนาจ 32 ปีของประธานาธิบดีซูฮาร์โตใน พ.ศ. 2541 ปิดฉากยุคสมัยของการควบคุมสิทธิเสรีภาพ เริ่มกระบวนการปฏิรูปกองทัพและปฏิรูปการเมือง นำอินโดนีเซียเข้าสู่ยุคใหม่อย่างไม่หันหลังกลับ แต่คนรุ่นใหม่ในวันนั้นบางคน ต้องจ่ายราคาที่แพงถึงชีวิตกว่าจะได้มาซึ่งความสำเร็จ นี่คือเรื่องราวของพวกเขา
36 ปีที่ผ่านมา นักศึกษาและประชาชนชาวฟิลิปปินส์ 2 ล้านคน ออกเดินขบวนไปตามถนนในกรุงมะนิลาเพื่อต่อต้านประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้นำที่ครองอำนาจเผด็จการยาวนานถึง 20 ปี การเดินขบวนใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ "การปฏิวัติพลังประชาชน" บรรลุเป้าหมายหลังจากที่ต่อสู้มายาวนาน มาร์กอสและครอบครัวขึ้นเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ หนีออกจากประเทศ และเสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกาสามปีให้หลัง ในบรรดาผู้ลุกขึ้นสู้จนประสบความสำเร็จ มีคนหนุ่มสาวในขบวนการนักศึกษาทั่วประเทศที่หลายคนต้องสละชีวิตในวัยสดใสเบิกบานเพื่ออุดมการณ์ที่ตนเองเชื่อมั่น เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และความทรงจำของประเทศ
ไม่ว่าเป็นรุ่นไหนก็เคยใหม่มาก่อน อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีใหม่ถอดด้ามของมาเลเซียวัย 75 ปี เคยเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง ผู้นำนักศึกษาเลือดร้อนเมื่อ 40 - 50 ปีมาแล้ว ก่อนจะกลายมาเป็นศิษย์เอกของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด พ่อมดการเมืองผู้มีอำนาจล้นฟ้า ชะตาชีวิตของคนทั้งสองที่ผูกพันกันมาหลายทศวรรษ มีผลกำหนดชะตาสังคมและการเมืองของประเทศ เป็นเส้นทางของอดีตคนรุ่นใหม่ที่ทิ้งวัยเยาว์ไว้เบื้องหลัง ผ่านชีวิตวกวนประหนึ่งนิยาย
Ministry of Moral Panic หนังสือรวมเรื่องสั้นสัญชาติสิงคโปร์ โดยนักเขียนหญิง อมานดา ลี โค (Amanda Lee Koe) หยิบประเด็นสารพัดมาเคี่ยวปรุง ไม่ว่าจะเป็นความรัก แรงงานอพยพ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือเพศ แล้วเสิร์ฟด้วยลีลาที่ไม่เหมือนใคร สะท้อนภาพสิงคโปร์ยุคนี้และในอดีต จนได้รับรางวัลวรรณกรรมแห่งชาติสิงคโปร์สาขานวนิยายภาษาอังกฤษ
บ่ายวันหนึ่งในเดือนมีนาคม เทวี อายู โสเภณีที่สวยที่สุดในจักรวาลผู้ตายไปแล้ว 21 ปี ลุกขึ้นจากหลุมศพแล้วเดินกลับบ้าน เรื่องของเธอและผู้คนในเมืองเล็ก ๆ ริมทะเล บอกเล่าประวัติศาสตร์อินโดนีเซียในศตวรรษที่ 20 ผ่านลีลาการเขียนแนว "สัจนิยมมหัศจรรย์" ของนักเขียนหนุ่ม เอ็กก้า คูร์นิยาวัน (Eka Kurniyawan) ชาวอินโดนีเซีย ผู้ที่นักวิจารณ์อาจหาญเปรียบเขากับ กาเบรียล การ์เซีย มาเกซ (Gabriel Garcia Marquez) นักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบล และ Murakami นักเขียนญี่ปุ่นชื่อดัง นวนิยาย Beauty Is a Wound ของเขาประสบความสำเร็จในการนำงานวรรณกรรมอินโดนีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่งอย่างน่าชื่นชม
The Sympathizer นวนิยายสงครามความยาวราว 370 หน้า เขียนขึ้นในปี 2558 โดย เวียด ตัน เหงียน ชาวเวียดนามที่อพยพไปอยู่อเมริกา ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลมากมายและได้รับการยกย่องว่าเป็นนิยายสงครามคลาสสิก ที่ตั้งคำถามต่อทั้งการโฆษณาชวนเชื่อของอเมริกา และผลพวงที่แท้จริงของการปฏิวัติสังคมนิยมเวียดนาม ผ่านคำสารภาพของสายลับเวียดนามเหนือผู้หนึ่ง นอกจากนั้นยังหยิบยกประเด็นร่วมสมัยของผู้อพยพภัยสงครามไปตั้งหลักแหล่งในโลกตะวันตก ด้วยการบรรยายความรู้สึกแปลกแยกและความสิ้นหวังของของผู้อพยพเวียดนามในสังคมอเมริกัน
ไม่มีสิ่งใดจะถ่ายทอดความรู้สึกได้ดีเท่านวนิยาย ประวัติศาสตร์การเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่เพียงเรื่องของผู้นำเพียงหยิบมือ แต่เกี่ยวพันกับชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดานับล้านมานับแต่ไหนแต่ไร น่าเสียดายที่เรื่องราวของพวกเขามักเลือนหายไปจากความทรงจำ And the Rain My Drink เป็นนวนิยายการเมืองที่เขียนขึ้นกว่า 60 ปีมาแล้ว โดย โรซาลี ชู (Rosalie Chou) นักเขียนลูกครึ่งจีน-เบลเยียมเจ้าของนามปากกา ฮัน ซูหยิน (Han Suyin) เล่าเรื่องราวการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่ประกาศโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษในทศวรรษ 1950s อย่างมีอรรถรส และแตะประเด็นการเมืองที่เปรียบเสมือนหนามแหลมคอยทิ่มแทงใจผู้คนในมาเลเซียนับแต่ช่วงของการสร้างชาติมาจนถึงปัจจุบัน
“โบโมห์” (Bomoh) หรือ “ปาวัง” (Pawang) หรือ “ดูคุน” (Dukun) เป็นคำภาษามลายู แปลว่า “หมอผี” ใช้เรียกผู้เชี่ยวชาญในการที่ประกอบพิธีทางไสยศาสตร์โดยมีเป้าหมายต่าง ๆ เช่น การรักษาโรค ทำนายทายทัก ปัดเป่าภัยอันตราย หรือแม้กระทั่ง “ทำของ” เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่สิงสถิตย์อยู่ในคาบสมุทรมลายูมาตั้งแต่ก่อนศาสนาอิสลามจะเดินทางมาถึง
“โบโมห์” ถูกตีตราว่าเป็นพ่อมดหมอผีที่กระทำการขัดแย้งต่อหลักศาสนา ที่บางยุคมีการปราบปรามอย่างรุนแรง แต่ปัจจุบัน “โบโมห์” ยังสืบทอดกันมาในมาเลเซียและสิงคโปร์ ทำงานให้บริการทางไสยศาสตร์แก่ใครก็ตามที่ศรัทธา แม้จะต้องเล่นเอาเถิดกับเจ้าหน้าที่ทางศาสนาศัตรูเก่าแต่ครั้งกระโน้นก็ตามที
ในนวนิยายเรื่องหนึ่งของ บ๋าว นิญ นักเขียนชื่อดังชาวเวียดนาม ใช้เสียงร้องไห้คร่ำครวญของ "ผีสงคราม" วิญญาณเร่ร่อนของเหล่าทหารที่ตายอย่างศพไร้ญาติในป่า เป็นสัญลักษณ์แทนความโศกเศร้าจากสงครามเวียดนามในใจของคน ความเศร้านี้มีอยู่จริงในครอบครัวชาวเวียดนามนับพันที่ยังหาศพสมาชิกในครอบครัวที่ออกรบในป่าเขาแล้วไม่กลับมาได้พบ ด้วยความเชื่อว่าถ้าปราศจากการทำพิธีศพที่ถูกต้องแล้ว วิญญาณของพวกเขาจะร่อนเร่น่าเวทนาไปชั่วนิรันดร์ คนจำนวนมากจึงฝากความหวังไว้ที่ร่างทรงผู้มีญานพิเศษให้ติดต่อกับโลกของคนตาย ช่วยชี้ทางให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ส่งดวงวิญญานของผู้เป็นที่รักสู่สุคติ
โหราศาสตร์กับดาราศาสตร์คือศาสตร์เดียวกันในยุคพันปีก่อนคริสตกาล ก่อนค่อย ๆ แยกทางเมื่อโลกตะวันตกหันเข้าหาเหตุผลเป็นทางนำของชีวิต แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจเปลี่ยนสังคมสู่วัตถุนิยม ประวัติศาสตร์ชี้ว่าบทบาทของโหรและหมอดูยั่งยืนต่อเนื่องมาในอุษาคเนย์มานับร้อยปี คนทุกฐานะชนชั้นยังมีโหราศาสตร์เป็นหนึ่งในเครื่องปลอบใจยามชีวิตไม่แน่นอน หมอดูปรากฏตัวอยู่ทุกที่รวมทั้งในปราสาทราชวังและศูนย์กลางอำนาจการเมือง อยู่เคียงข้างผู้นำบางคนในการตัดสินใจที่ส่งผลต่อประเทศชาติ
"เมอราปี" หนึ่งในภูเขาไฟที่ดุร้ายที่สุดของอินโดนีเซีย มีตำนานเล่าขานกันมานับพันปีในฐานะภูเขาไฟศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรชวาโบราณ ปัจจุบันแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป เมอราปียังเป็นภูเขาไฟที่มีนายทวาร หรือมนุษย์ผู้ทำหน้าที่สื่อสารทางจิตวิญญาณกับมัน ปกป้องผู้คนจากความโกรธเกรี้ยวของภูเขาไฟด้วยการเซ่นสรวงบูชา ชวนฟังเรื่องของนายทวารผู้พิทักษ์วิญญานของเมอราปีผู้หนึ่งที่ยืนยันทำหน้าที่ของตนจนตัวตาย
คำประกาศของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตรายและกำหนดให้เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป สอดคล้องกับทิศทางของประเทศอาเซียนที่พร้อมโบกมือลาฝันร้าย แล้วเปิดประตูรับโอกาสทางเศรษฐกิจให้ประชาชนได้ลืมตาอ้าปากอีกครั้งหนึ่ง แต่การจากไปของโควิด-19 ไม่ได้หมายถึงการจากไปของอุปสรรคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามยูเครน และสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนถ้วนหน้า วัดฝีมือรัฐบาลประเทศอาเซียนว่าจะนำพาประชาชนให้ผ่านพ้นอุปสรรคยุคหลังโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
ประเทศเอเชียตะวันออกฉียงใต้ส่วนใหญ่ยกเว้นประเทศไทยตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตกในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 บางประเทศผ่านสงครามต่อต้านเจ้าอาณานิคมที่โหดร้ายยาวนาน โลกเปลี่ยนไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ลัทธิล่าอาณานิคมตกสมัย ดินแดนใต้อาณานิคมทยอยประกาศเอกราชก่อตั้งประเทศมีระบบการปกครองที่ต่างกันออกไปและเก็บความทรงจำทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ตน ความบอบช้ำมาถึงอีกระลอกพร้อมสงครามเย็นที่แบ่งแยกโลกออกเป็นสองขั้ว ความเติบโตมาถึงเมื่ออาเซียนเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เผชิญความท้าทายของโลกยุคใหม่ไม่จบสิ้น ประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้างตัวเป็นประเทศของอาเซียนถูกย้ำเตือนในวันชาติ เพื่อไม่ให้สูญหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นใหม่
คอร์รัปชันเปรียบเหมือนรูรั่วในกระเป๋า ที่แม้มีเงินมากแค่ไหนก็มักรั่วไหลไปสู่มือลึกลับที่ไม่อาจระบุได้ ดัชนีชี้วัดระดับการทุจริตให้คะแนนสิงคโปร์สูงสุดในฐานะประเทศปลอดคอร์รัปชัน ส่วนกัมพูชาครองแชมป์ยอดแย่ติดกันมาหลายปี ในขณะที่ประชาชนอีกหลายประเทศมองว่าการทุจริตในประเทศของตนเองมีแต่จะเลวร้ายลง ลีลาทุจริตในประเทศอาเซียนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ฟังตัวอย่างของมาเลเซียและกัมพูชา เข้าใจเพื่อนบ้านแล้วย้อนคิดเข้าใจตน
ขณะที่บางอาชีพอาจหายไปตามกาลเวลา แต่อาชีพสายลับยังอยู่ยงคงกระพัน ดูได้จาก "โหยว จุน เว่ย" (Yeo Jun Wei) หรือ ดิ๊กสัน โหยว (Dickson Yeo) นักศึกษาปริญญาเอกชาวสิงคโปร์ ผู้รับจ๊อบหาข่าวกรองให้จีนในวัย 30 กว่า ๆ ใช้ฉากหน้าของความเป็นนักวิชาการล้วงความลับในวอชิงตัน ดีซี แต่พลาดท่าถูกจับติดคุกทั้งในสหรัฐฯ และสิงคโปร์บ้านเกิด ลีลาการสร้างเครือข่ายหาข่าวกรองของเขาชี้ถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียที่กลายเป็นเครื่องทุ่นแรงของแทบทุกอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่สายลับ
รอสมาห์ มันโซร์ (Rosmah Mansor) ภรรยาอดีตนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก แห่งมาเลเซีย เจ้าของฉายา "สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งการชอปปิง" ตกที่นั่งลำบากเมื่อศาลสูงสุดตัดสินจำคุกสามีของเธอเป็นเวลา 12 ปี โดยคดีอื่น ๆ อีกหลายสิบกำลังจะตามมา ตัวเธอเองอาจเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกันจากคดีทุจริตหลายคดี รวมทั้งคดีประวัติศาสตร์ 1MDB ที่สามีเป็นจำเลยใหญ่ ครั้งหนึ่งรอสมาห์มีอำนาจวาสนา ใช้ชีวิตหรูหรา และว่ากันว่าเป็นผู้ไม่รีรอที่จะแสดงอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการเมือง เป็นเหตุผลที่แท้จริงในการนำพานาจิบ ราซัก และเศรษฐกิจมาเลเซียดิ่งลงเหว
ปราโมทยา อนันตา ตูร์ แห่งอินโดนีเซีย เป็นนักเขียน นักต่อสู้ และเป็นตำนาน นวนิยายชุดจตุรภาคเกาะบูรูของเขาส่งให้เขาเป็นนักเขียนอินโดนีเซียและนักเขียนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงผู้เดียวที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรองวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมหลายครั้ง ในขณะที่จตุรภาคเกาะบูรูเล่าเรื่องชีวิตจริงของบิดาแห่งการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ วิธีอันแยบคายที่ปราโมทยาเขียนนวนิยายเรื่องนี้ในภาวะไร้ซึ่งเสรีภาพ ก็ส่งให้ชีวิตเขามีสีสันไม่ผิดกับนิยายอีกเรื่องหนี่ง ย้ำเตือนถึงพลังแห่งการเขียนจากใจที่มุ่งมั่น
แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ทรัพยากรชื่อแปลกฉายาไวตามินแห่งโลกสมัยใหม่ คือความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ของโลกยุคไฮเทค แต่อาจมีราคามากกว่าชีวิตคนธรรมดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ เรื่องของมาเลเซียและเมียนมาเป็นอุทาหรณ์แสดงถึงอำนาจการตัดสินใจของผู้นำที่ผลักให้ประเทศตนกลายเป็นถังขยะและโรงงานราคาถูกภายใต้กำลังทรัพย์ของประเทศร่ำรวย
คริสต์มาส ปีใหม่ และตรุษจีน นำเอาบรรยากาศของความรื่นเริงมาถึงในเดือนธันวาคมปีนี้และมกราคมปีหน้า อุษาคเนย์เฉลิมฉลองเทศกาลที่มาจากหลายวัฒนธรรมไปพร้อมกัน แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลายที่มีมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ บ่งบอกบุคลิกยืดหยุ่นเปิดกว้างของผู้คน อันเป็นความแข็งแกร่งและสวยงามของภูมิภาค
Millennial และ Generation Z คนรุ่นใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทเชิงเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลก เกิดและเติบโตมาในยุคอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีทัชสกรีน และอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย เป็นคนรุ่นที่เชื่อมโยงติดต่อกับโลกทั้งโลกผ่านปลายนิ้ว แต่เหตุใดจึงยังไม่สามารถแสดงพลังขับเคลื่อนทางการเมืองไปในทิศทางที่ก้าวหน้าได้เหมือนคนรุ่นก่อน เวลาเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้
เมืองไทยมีคนเดือนตุลาฯ อินโดนีเซียก็มีคนรุ่น 1998 หรือนักศึกษาอายุ 20 - 30 ปี และนักกิจกรรมการเมืองที่ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มอำนาจ 32 ปีของประธานาธิบดีซูฮาร์โตใน พ.ศ. 2541 ปิดฉากยุคสมัยของการควบคุมสิทธิเสรีภาพ เริ่มกระบวนการปฏิรูปกองทัพและปฏิรูปการเมือง นำอินโดนีเซียเข้าสู่ยุคใหม่อย่างไม่หันหลังกลับ แต่คนรุ่นใหม่ในวันนั้นบางคน ต้องจ่ายราคาที่แพงถึงชีวิตกว่าจะได้มาซึ่งความสำเร็จ นี่คือเรื่องราวของพวกเขา
36 ปีที่ผ่านมา นักศึกษาและประชาชนชาวฟิลิปปินส์ 2 ล้านคน ออกเดินขบวนไปตามถนนในกรุงมะนิลาเพื่อต่อต้านประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้นำที่ครองอำนาจเผด็จการยาวนานถึง 20 ปี การเดินขบวนใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ "การปฏิวัติพลังประชาชน" บรรลุเป้าหมายหลังจากที่ต่อสู้มายาวนาน มาร์กอสและครอบครัวขึ้นเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ หนีออกจากประเทศ และเสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกาสามปีให้หลัง ในบรรดาผู้ลุกขึ้นสู้จนประสบความสำเร็จ มีคนหนุ่มสาวในขบวนการนักศึกษาทั่วประเทศที่หลายคนต้องสละชีวิตในวัยสดใสเบิกบานเพื่ออุดมการณ์ที่ตนเองเชื่อมั่น เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และความทรงจำของประเทศ
ไม่ว่าเป็นรุ่นไหนก็เคยใหม่มาก่อน อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีใหม่ถอดด้ามของมาเลเซียวัย 75 ปี เคยเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง ผู้นำนักศึกษาเลือดร้อนเมื่อ 40 - 50 ปีมาแล้ว ก่อนจะกลายมาเป็นศิษย์เอกของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด พ่อมดการเมืองผู้มีอำนาจล้นฟ้า ชะตาชีวิตของคนทั้งสองที่ผูกพันกันมาหลายทศวรรษ มีผลกำหนดชะตาสังคมและการเมืองของประเทศ เป็นเส้นทางของอดีตคนรุ่นใหม่ที่ทิ้งวัยเยาว์ไว้เบื้องหลัง ผ่านชีวิตวกวนประหนึ่งนิยาย
Ministry of Moral Panic หนังสือรวมเรื่องสั้นสัญชาติสิงคโปร์ โดยนักเขียนหญิง อมานดา ลี โค (Amanda Lee Koe) หยิบประเด็นสารพัดมาเคี่ยวปรุง ไม่ว่าจะเป็นความรัก แรงงานอพยพ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือเพศ แล้วเสิร์ฟด้วยลีลาที่ไม่เหมือนใคร สะท้อนภาพสิงคโปร์ยุคนี้และในอดีต จนได้รับรางวัลวรรณกรรมแห่งชาติสิงคโปร์สาขานวนิยายภาษาอังกฤษ
บ่ายวันหนึ่งในเดือนมีนาคม เทวี อายู โสเภณีที่สวยที่สุดในจักรวาลผู้ตายไปแล้ว 21 ปี ลุกขึ้นจากหลุมศพแล้วเดินกลับบ้าน เรื่องของเธอและผู้คนในเมืองเล็ก ๆ ริมทะเล บอกเล่าประวัติศาสตร์อินโดนีเซียในศตวรรษที่ 20 ผ่านลีลาการเขียนแนว "สัจนิยมมหัศจรรย์" ของนักเขียนหนุ่ม เอ็กก้า คูร์นิยาวัน (Eka Kurniyawan) ชาวอินโดนีเซีย ผู้ที่นักวิจารณ์อาจหาญเปรียบเขากับ กาเบรียล การ์เซีย มาเกซ (Gabriel Garcia Marquez) นักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบล และ Murakami นักเขียนญี่ปุ่นชื่อดัง นวนิยาย Beauty Is a Wound ของเขาประสบความสำเร็จในการนำงานวรรณกรรมอินโดนีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่งอย่างน่าชื่นชม
The Sympathizer นวนิยายสงครามความยาวราว 370 หน้า เขียนขึ้นในปี 2558 โดย เวียด ตัน เหงียน ชาวเวียดนามที่อพยพไปอยู่อเมริกา ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลมากมายและได้รับการยกย่องว่าเป็นนิยายสงครามคลาสสิก ที่ตั้งคำถามต่อทั้งการโฆษณาชวนเชื่อของอเมริกา และผลพวงที่แท้จริงของการปฏิวัติสังคมนิยมเวียดนาม ผ่านคำสารภาพของสายลับเวียดนามเหนือผู้หนึ่ง นอกจากนั้นยังหยิบยกประเด็นร่วมสมัยของผู้อพยพภัยสงครามไปตั้งหลักแหล่งในโลกตะวันตก ด้วยการบรรยายความรู้สึกแปลกแยกและความสิ้นหวังของของผู้อพยพเวียดนามในสังคมอเมริกัน
ไม่มีสิ่งใดจะถ่ายทอดความรู้สึกได้ดีเท่านวนิยาย ประวัติศาสตร์การเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่เพียงเรื่องของผู้นำเพียงหยิบมือ แต่เกี่ยวพันกับชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดานับล้านมานับแต่ไหนแต่ไร น่าเสียดายที่เรื่องราวของพวกเขามักเลือนหายไปจากความทรงจำ And the Rain My Drink เป็นนวนิยายการเมืองที่เขียนขึ้นกว่า 60 ปีมาแล้ว โดย โรซาลี ชู (Rosalie Chou) นักเขียนลูกครึ่งจีน-เบลเยียมเจ้าของนามปากกา ฮัน ซูหยิน (Han Suyin) เล่าเรื่องราวการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่ประกาศโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษในทศวรรษ 1950s อย่างมีอรรถรส และแตะประเด็นการเมืองที่เปรียบเสมือนหนามแหลมคอยทิ่มแทงใจผู้คนในมาเลเซียนับแต่ช่วงของการสร้างชาติมาจนถึงปัจจุบัน
“โบโมห์” (Bomoh) หรือ “ปาวัง” (Pawang) หรือ “ดูคุน” (Dukun) เป็นคำภาษามลายู แปลว่า “หมอผี” ใช้เรียกผู้เชี่ยวชาญในการที่ประกอบพิธีทางไสยศาสตร์โดยมีเป้าหมายต่าง ๆ เช่น การรักษาโรค ทำนายทายทัก ปัดเป่าภัยอันตราย หรือแม้กระทั่ง “ทำของ” เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่สิงสถิตย์อยู่ในคาบสมุทรมลายูมาตั้งแต่ก่อนศาสนาอิสลามจะเดินทางมาถึง
“โบโมห์” ถูกตีตราว่าเป็นพ่อมดหมอผีที่กระทำการขัดแย้งต่อหลักศาสนา ที่บางยุคมีการปราบปรามอย่างรุนแรง แต่ปัจจุบัน “โบโมห์” ยังสืบทอดกันมาในมาเลเซียและสิงคโปร์ ทำงานให้บริการทางไสยศาสตร์แก่ใครก็ตามที่ศรัทธา แม้จะต้องเล่นเอาเถิดกับเจ้าหน้าที่ทางศาสนาศัตรูเก่าแต่ครั้งกระโน้นก็ตามที
ในนวนิยายเรื่องหนึ่งของ บ๋าว นิญ นักเขียนชื่อดังชาวเวียดนาม ใช้เสียงร้องไห้คร่ำครวญของ "ผีสงคราม" วิญญาณเร่ร่อนของเหล่าทหารที่ตายอย่างศพไร้ญาติในป่า เป็นสัญลักษณ์แทนความโศกเศร้าจากสงครามเวียดนามในใจของคน ความเศร้านี้มีอยู่จริงในครอบครัวชาวเวียดนามนับพันที่ยังหาศพสมาชิกในครอบครัวที่ออกรบในป่าเขาแล้วไม่กลับมาได้พบ ด้วยความเชื่อว่าถ้าปราศจากการทำพิธีศพที่ถูกต้องแล้ว วิญญาณของพวกเขาจะร่อนเร่น่าเวทนาไปชั่วนิรันดร์ คนจำนวนมากจึงฝากความหวังไว้ที่ร่างทรงผู้มีญานพิเศษให้ติดต่อกับโลกของคนตาย ช่วยชี้ทางให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ส่งดวงวิญญานของผู้เป็นที่รักสู่สุคติ
โหราศาสตร์กับดาราศาสตร์คือศาสตร์เดียวกันในยุคพันปีก่อนคริสตกาล ก่อนค่อย ๆ แยกทางเมื่อโลกตะวันตกหันเข้าหาเหตุผลเป็นทางนำของชีวิต แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจเปลี่ยนสังคมสู่วัตถุนิยม ประวัติศาสตร์ชี้ว่าบทบาทของโหรและหมอดูยั่งยืนต่อเนื่องมาในอุษาคเนย์มานับร้อยปี คนทุกฐานะชนชั้นยังมีโหราศาสตร์เป็นหนึ่งในเครื่องปลอบใจยามชีวิตไม่แน่นอน หมอดูปรากฏตัวอยู่ทุกที่รวมทั้งในปราสาทราชวังและศูนย์กลางอำนาจการเมือง อยู่เคียงข้างผู้นำบางคนในการตัดสินใจที่ส่งผลต่อประเทศชาติ
"เมอราปี" หนึ่งในภูเขาไฟที่ดุร้ายที่สุดของอินโดนีเซีย มีตำนานเล่าขานกันมานับพันปีในฐานะภูเขาไฟศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรชวาโบราณ ปัจจุบันแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป เมอราปียังเป็นภูเขาไฟที่มีนายทวาร หรือมนุษย์ผู้ทำหน้าที่สื่อสารทางจิตวิญญาณกับมัน ปกป้องผู้คนจากความโกรธเกรี้ยวของภูเขาไฟด้วยการเซ่นสรวงบูชา ชวนฟังเรื่องของนายทวารผู้พิทักษ์วิญญานของเมอราปีผู้หนึ่งที่ยืนยันทำหน้าที่ของตนจนตัวตาย
คำประกาศของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตรายและกำหนดให้เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป สอดคล้องกับทิศทางของประเทศอาเซียนที่พร้อมโบกมือลาฝันร้าย แล้วเปิดประตูรับโอกาสทางเศรษฐกิจให้ประชาชนได้ลืมตาอ้าปากอีกครั้งหนึ่ง แต่การจากไปของโควิด-19 ไม่ได้หมายถึงการจากไปของอุปสรรคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามยูเครน และสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนถ้วนหน้า วัดฝีมือรัฐบาลประเทศอาเซียนว่าจะนำพาประชาชนให้ผ่านพ้นอุปสรรคยุคหลังโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
ประเทศเอเชียตะวันออกฉียงใต้ส่วนใหญ่ยกเว้นประเทศไทยตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตกในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 บางประเทศผ่านสงครามต่อต้านเจ้าอาณานิคมที่โหดร้ายยาวนาน โลกเปลี่ยนไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ลัทธิล่าอาณานิคมตกสมัย ดินแดนใต้อาณานิคมทยอยประกาศเอกราชก่อตั้งประเทศมีระบบการปกครองที่ต่างกันออกไปและเก็บความทรงจำทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ตน ความบอบช้ำมาถึงอีกระลอกพร้อมสงครามเย็นที่แบ่งแยกโลกออกเป็นสองขั้ว ความเติบโตมาถึงเมื่ออาเซียนเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เผชิญความท้าทายของโลกยุคใหม่ไม่จบสิ้น ประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้างตัวเป็นประเทศของอาเซียนถูกย้ำเตือนในวันชาติ เพื่อไม่ให้สูญหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นใหม่
คอร์รัปชันเปรียบเหมือนรูรั่วในกระเป๋า ที่แม้มีเงินมากแค่ไหนก็มักรั่วไหลไปสู่มือลึกลับที่ไม่อาจระบุได้ ดัชนีชี้วัดระดับการทุจริตให้คะแนนสิงคโปร์สูงสุดในฐานะประเทศปลอดคอร์รัปชัน ส่วนกัมพูชาครองแชมป์ยอดแย่ติดกันมาหลายปี ในขณะที่ประชาชนอีกหลายประเทศมองว่าการทุจริตในประเทศของตนเองมีแต่จะเลวร้ายลง ลีลาทุจริตในประเทศอาเซียนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ฟังตัวอย่างของมาเลเซียและกัมพูชา เข้าใจเพื่อนบ้านแล้วย้อนคิดเข้าใจตน
ขณะที่บางอาชีพอาจหายไปตามกาลเวลา แต่อาชีพสายลับยังอยู่ยงคงกระพัน ดูได้จาก "โหยว จุน เว่ย" (Yeo Jun Wei) หรือ ดิ๊กสัน โหยว (Dickson Yeo) นักศึกษาปริญญาเอกชาวสิงคโปร์ ผู้รับจ๊อบหาข่าวกรองให้จีนในวัย 30 กว่า ๆ ใช้ฉากหน้าของความเป็นนักวิชาการล้วงความลับในวอชิงตัน ดีซี แต่พลาดท่าถูกจับติดคุกทั้งในสหรัฐฯ และสิงคโปร์บ้านเกิด ลีลาการสร้างเครือข่ายหาข่าวกรองของเขาชี้ถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียที่กลายเป็นเครื่องทุ่นแรงของแทบทุกอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่สายลับ
รอสมาห์ มันโซร์ (Rosmah Mansor) ภรรยาอดีตนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก แห่งมาเลเซีย เจ้าของฉายา "สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งการชอปปิง" ตกที่นั่งลำบากเมื่อศาลสูงสุดตัดสินจำคุกสามีของเธอเป็นเวลา 12 ปี โดยคดีอื่น ๆ อีกหลายสิบกำลังจะตามมา ตัวเธอเองอาจเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกันจากคดีทุจริตหลายคดี รวมทั้งคดีประวัติศาสตร์ 1MDB ที่สามีเป็นจำเลยใหญ่ ครั้งหนึ่งรอสมาห์มีอำนาจวาสนา ใช้ชีวิตหรูหรา และว่ากันว่าเป็นผู้ไม่รีรอที่จะแสดงอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการเมือง เป็นเหตุผลที่แท้จริงในการนำพานาจิบ ราซัก และเศรษฐกิจมาเลเซียดิ่งลงเหว
ปราโมทยา อนันตา ตูร์ แห่งอินโดนีเซีย เป็นนักเขียน นักต่อสู้ และเป็นตำนาน นวนิยายชุดจตุรภาคเกาะบูรูของเขาส่งให้เขาเป็นนักเขียนอินโดนีเซียและนักเขียนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงผู้เดียวที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรองวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมหลายครั้ง ในขณะที่จตุรภาคเกาะบูรูเล่าเรื่องชีวิตจริงของบิดาแห่งการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ วิธีอันแยบคายที่ปราโมทยาเขียนนวนิยายเรื่องนี้ในภาวะไร้ซึ่งเสรีภาพ ก็ส่งให้ชีวิตเขามีสีสันไม่ผิดกับนิยายอีกเรื่องหนี่ง ย้ำเตือนถึงพลังแห่งการเขียนจากใจที่มุ่งมั่น
แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ทรัพยากรชื่อแปลกฉายาไวตามินแห่งโลกสมัยใหม่ คือความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ของโลกยุคไฮเทค แต่อาจมีราคามากกว่าชีวิตคนธรรมดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ เรื่องของมาเลเซียและเมียนมาเป็นอุทาหรณ์แสดงถึงอำนาจการตัดสินใจของผู้นำที่ผลักให้ประเทศตนกลายเป็นถังขยะและโรงงานราคาถูกภายใต้กำลังทรัพย์ของประเทศร่ำรวย
คริสต์มาส ปีใหม่ และตรุษจีน นำเอาบรรยากาศของความรื่นเริงมาถึงในเดือนธันวาคมปีนี้และมกราคมปีหน้า อุษาคเนย์เฉลิมฉลองเทศกาลที่มาจากหลายวัฒนธรรมไปพร้อมกัน แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลายที่มีมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ บ่งบอกบุคลิกยืดหยุ่นเปิดกว้างของผู้คน อันเป็นความแข็งแกร่งและสวยงามของภูมิภาค
Millennial และ Generation Z คนรุ่นใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทเชิงเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลก เกิดและเติบโตมาในยุคอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีทัชสกรีน และอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย เป็นคนรุ่นที่เชื่อมโยงติดต่อกับโลกทั้งโลกผ่านปลายนิ้ว แต่เหตุใดจึงยังไม่สามารถแสดงพลังขับเคลื่อนทางการเมืองไปในทิศทางที่ก้าวหน้าได้เหมือนคนรุ่นก่อน เวลาเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้
เมืองไทยมีคนเดือนตุลาฯ อินโดนีเซียก็มีคนรุ่น 1998 หรือนักศึกษาอายุ 20 - 30 ปี และนักกิจกรรมการเมืองที่ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มอำนาจ 32 ปีของประธานาธิบดีซูฮาร์โตใน พ.ศ. 2541 ปิดฉากยุคสมัยของการควบคุมสิทธิเสรีภาพ เริ่มกระบวนการปฏิรูปกองทัพและปฏิรูปการเมือง นำอินโดนีเซียเข้าสู่ยุคใหม่อย่างไม่หันหลังกลับ แต่คนรุ่นใหม่ในวันนั้นบางคน ต้องจ่ายราคาที่แพงถึงชีวิตกว่าจะได้มาซึ่งความสำเร็จ นี่คือเรื่องราวของพวกเขา
36 ปีที่ผ่านมา นักศึกษาและประชาชนชาวฟิลิปปินส์ 2 ล้านคน ออกเดินขบวนไปตามถนนในกรุงมะนิลาเพื่อต่อต้านประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้นำที่ครองอำนาจเผด็จการยาวนานถึง 20 ปี การเดินขบวนใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ "การปฏิวัติพลังประชาชน" บรรลุเป้าหมายหลังจากที่ต่อสู้มายาวนาน มาร์กอสและครอบครัวขึ้นเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ หนีออกจากประเทศ และเสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกาสามปีให้หลัง ในบรรดาผู้ลุกขึ้นสู้จนประสบความสำเร็จ มีคนหนุ่มสาวในขบวนการนักศึกษาทั่วประเทศที่หลายคนต้องสละชีวิตในวัยสดใสเบิกบานเพื่ออุดมการณ์ที่ตนเองเชื่อมั่น เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และความทรงจำของประเทศ
ไม่ว่าเป็นรุ่นไหนก็เคยใหม่มาก่อน อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีใหม่ถอดด้ามของมาเลเซียวัย 75 ปี เคยเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง ผู้นำนักศึกษาเลือดร้อนเมื่อ 40 - 50 ปีมาแล้ว ก่อนจะกลายมาเป็นศิษย์เอกของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด พ่อมดการเมืองผู้มีอำนาจล้นฟ้า ชะตาชีวิตของคนทั้งสองที่ผูกพันกันมาหลายทศวรรษ มีผลกำหนดชะตาสังคมและการเมืองของประเทศ เป็นเส้นทางของอดีตคนรุ่นใหม่ที่ทิ้งวัยเยาว์ไว้เบื้องหลัง ผ่านชีวิตวกวนประหนึ่งนิยาย
Ministry of Moral Panic หนังสือรวมเรื่องสั้นสัญชาติสิงคโปร์ โดยนักเขียนหญิง อมานดา ลี โค (Amanda Lee Koe) หยิบประเด็นสารพัดมาเคี่ยวปรุง ไม่ว่าจะเป็นความรัก แรงงานอพยพ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือเพศ แล้วเสิร์ฟด้วยลีลาที่ไม่เหมือนใคร สะท้อนภาพสิงคโปร์ยุคนี้และในอดีต จนได้รับรางวัลวรรณกรรมแห่งชาติสิงคโปร์สาขานวนิยายภาษาอังกฤษ
บ่ายวันหนึ่งในเดือนมีนาคม เทวี อายู โสเภณีที่สวยที่สุดในจักรวาลผู้ตายไปแล้ว 21 ปี ลุกขึ้นจากหลุมศพแล้วเดินกลับบ้าน เรื่องของเธอและผู้คนในเมืองเล็ก ๆ ริมทะเล บอกเล่าประวัติศาสตร์อินโดนีเซียในศตวรรษที่ 20 ผ่านลีลาการเขียนแนว "สัจนิยมมหัศจรรย์" ของนักเขียนหนุ่ม เอ็กก้า คูร์นิยาวัน (Eka Kurniyawan) ชาวอินโดนีเซีย ผู้ที่นักวิจารณ์อาจหาญเปรียบเขากับ กาเบรียล การ์เซีย มาเกซ (Gabriel Garcia Marquez) นักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบล และ Murakami นักเขียนญี่ปุ่นชื่อดัง นวนิยาย Beauty Is a Wound ของเขาประสบความสำเร็จในการนำงานวรรณกรรมอินโดนีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่งอย่างน่าชื่นชม
The Sympathizer นวนิยายสงครามความยาวราว 370 หน้า เขียนขึ้นในปี 2558 โดย เวียด ตัน เหงียน ชาวเวียดนามที่อพยพไปอยู่อเมริกา ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลมากมายและได้รับการยกย่องว่าเป็นนิยายสงครามคลาสสิก ที่ตั้งคำถามต่อทั้งการโฆษณาชวนเชื่อของอเมริกา และผลพวงที่แท้จริงของการปฏิวัติสังคมนิยมเวียดนาม ผ่านคำสารภาพของสายลับเวียดนามเหนือผู้หนึ่ง นอกจากนั้นยังหยิบยกประเด็นร่วมสมัยของผู้อพยพภัยสงครามไปตั้งหลักแหล่งในโลกตะวันตก ด้วยการบรรยายความรู้สึกแปลกแยกและความสิ้นหวังของของผู้อพยพเวียดนามในสังคมอเมริกัน
ไม่มีสิ่งใดจะถ่ายทอดความรู้สึกได้ดีเท่านวนิยาย ประวัติศาสตร์การเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่เพียงเรื่องของผู้นำเพียงหยิบมือ แต่เกี่ยวพันกับชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดานับล้านมานับแต่ไหนแต่ไร น่าเสียดายที่เรื่องราวของพวกเขามักเลือนหายไปจากความทรงจำ And the Rain My Drink เป็นนวนิยายการเมืองที่เขียนขึ้นกว่า 60 ปีมาแล้ว โดย โรซาลี ชู (Rosalie Chou) นักเขียนลูกครึ่งจีน-เบลเยียมเจ้าของนามปากกา ฮัน ซูหยิน (Han Suyin) เล่าเรื่องราวการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่ประกาศโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษในทศวรรษ 1950s อย่างมีอรรถรส และแตะประเด็นการเมืองที่เปรียบเสมือนหนามแหลมคอยทิ่มแทงใจผู้คนในมาเลเซียนับแต่ช่วงของการสร้างชาติมาจนถึงปัจจุบัน
“โบโมห์” (Bomoh) หรือ “ปาวัง” (Pawang) หรือ “ดูคุน” (Dukun) เป็นคำภาษามลายู แปลว่า “หมอผี” ใช้เรียกผู้เชี่ยวชาญในการที่ประกอบพิธีทางไสยศาสตร์โดยมีเป้าหมายต่าง ๆ เช่น การรักษาโรค ทำนายทายทัก ปัดเป่าภัยอันตราย หรือแม้กระทั่ง “ทำของ” เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่สิงสถิตย์อยู่ในคาบสมุทรมลายูมาตั้งแต่ก่อนศาสนาอิสลามจะเดินทางมาถึง
“โบโมห์” ถูกตีตราว่าเป็นพ่อมดหมอผีที่กระทำการขัดแย้งต่อหลักศาสนา ที่บางยุคมีการปราบปรามอย่างรุนแรง แต่ปัจจุบัน “โบโมห์” ยังสืบทอดกันมาในมาเลเซียและสิงคโปร์ ทำงานให้บริการทางไสยศาสตร์แก่ใครก็ตามที่ศรัทธา แม้จะต้องเล่นเอาเถิดกับเจ้าหน้าที่ทางศาสนาศัตรูเก่าแต่ครั้งกระโน้นก็ตามที